ROAS ต้องสูงแค่ไหนถึงจะเรียกว่าคุ้ม? คำตอบอยู่ที่ต้นทุนและกำไรของธุรกิจคุณเอง
หลายคนเข้าใจว่า ROAS ยิ่งสูงยิ่งดี ซึ่งก็ไม่ผิด แต่ที่มักพลาด คือ ไม่เคยถามกลับว่า “แล้วต้องสูงแค่ไหน…เราถึงจะได้กำไรจริง ๆ?”
บางธุรกิจแค่ ROAS 2.1 ก็มีกำไรเยอะ เพราะต้นทุนต่ำและมาร์จิ้นสูง
แต่บางราย ROAS 3 ยังไม่แตะจุดคุ้มทุนเลยด้วยซ้ำ เพราะเบื้องหลังตัวเลขนี้ยังมีต้นทุนแฝงและรายละเอียดเฉพาะที่ต่างกันในแต่ละธุรกิจ
บทความนี้จะพาคุณเข้าใจการวัดผลแคมเปญให้ตรงกับธุรกิจของตัวเอง ไม่ใช่แค่ดูตัวเลขแล้วเดาว่าคุ้มหรือไม่คุ้ม
เข้าใจวิธีคิดและคำนวณ ROAS ให้ถูกต้อง
ROAS คืออะไร และใช้วัดอะไรในแคมเปญโฆษณา
ROAS ย่อมาจาก Return on Ad Spend ใช้สำหรับวัดว่าเงินที่จ่ายไปกับโฆษณาให้ผลตอบแทนกลับมาเท่าไหร่ พูดง่าย ๆ คือ ช่วยตอบคำถามว่า “คุ้มค่าหรือเปล่าที่ลงทุนกับแคมเปญนี้”
ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณจ่ายเงินโฆษณา 1,000 บาท แล้วขายของได้ 3,000 บาท
แปลว่า ROAS = 3.0 หมายถึง ทุก 1 บาทที่จ่าย ได้รายได้คืนมา 3 บาท
สูตรคำนวณ ROAS

สูตรมาตรฐานของ ROAS คือ:
ROAS = รายได้จากโฆษณา ÷ ค่าใช้จ่ายโฆษณา
เช่น
– รายได้จากโฆษณา = 10,000 บาท
– ค่าใช้จ่ายโฆษณา = 2,000 บาท
– ROAS = 10,000 ÷ 2,000 = 5.0
ยิ่ง ROAS สูง ยิ่งแปลว่าโฆษณาทำเงินกลับมาได้มากเมื่อเทียบกับงบที่ใช้
จุดอ่อนของ ROAS ที่หลายคนมองข้าม
แม้ ROAS จะดูเป็นเมตริกที่ง่ายและใช้บ่อยที่สุด
แต่จุดสำคัญคือ มันไม่ได้นำต้นทุนอื่น ๆ ของธุรกิจเข้ามารวมด้วย
เช่น:
- ต้นทุนสินค้าจริง
- ค่าจัดส่ง
- ค่าบรรจุภัณฑ์
- ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ดังนั้น ROAS อาจบอกได้ว่าโฆษณาทำยอดขายได้แค่ไหน แต่ไม่ได้บอกเลยว่า “กำไรเหลือเท่าไหร่”
การตัดสินใจจากค่า ROAS อย่างเดียวอาจทำให้มองผิด

จากประสบการณ์ที่ MSK Media เคยดูแลแคมเปญให้ลูกค้าหลายเจ้า แม้จะไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นบ่อย แต่เราก็เคยเจอเคสที่ได้ ROAS สูงถึง 5.0 ซึ่งฟังดูเหมือนจะดีมาก แต่พอลองดูต้นทุนทั้งหมดให้ละเอียด
กลับพบว่าแคมเปญนั้น ยังไม่มีกำไรจริง ๆ
ลองดูตัวอย่างนี้ก่อนตัดสินใจเพิ่มงบหรือหยุดแคมเปญ:
- ค่าโฆษณา (Ad Spend): 1,000 บาท
- รายได้จากโฆษณา (Revenue): 5,000 บาท
ROAS = 5.0 ดูเหมือนจะดีมาก
แต่ถ้าเราลงรายละเอียดต้นทุนจริงต่อรายการ จะเห็นภาพที่ต่างออกไป:
- ต้นทุนสินค้า: 2,400 บาท
- ค่าจัดส่ง: 120 บาท
- ค่าบรรจุภัณฑ์: 300 บาท
- ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (แอดมิน, แพ็กของ, ระบบ ฯลฯ): 1,300 บาท
รวมต้นทุนทั้งหมด: 4,120 บาท
นำรายได้ 5,000 บาท – ต้นทุนทั้งหมด 4,120 บาท = กำไรเบื้องต้น 880 บาท
แต่คุณยังต้องหัก “ค่าโฆษณา” อีก 1,000 บาท
กำไรสุทธิ = 880 – 1,000 = ขาดทุน 120 บาท
ถึงแม้ ROAS จะอยู่ที่ 5.0 ซึ่งถือว่าสูง
แต่เมื่อดูรวมทุกต้นทุนจริง สำหรับบางธุรกิจก็ยังขาดทุนอยู่ดี
ROAS เท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าคุ้ม?
รู้จุดคุ้มทุนของตัวเองถึงสำคัญที่สุด
หลายคนตั้งเป้า ROAS แบบเดา ๆ เช่น คิดว่าได้ 3 ก็น่าจะคุ้ม หรือเห็นคนอื่นบอก 5 ก็เอาตามนั้น
แต่ในความจริง “ตัวเลขที่เหมาะสม” สำหรับแต่ละธุรกิจไม่เคยเหมือนกันเลย
สิ่งที่ควรทำคือ คำนวณ Break Even ROAS ของตัวเอง เพื่อรู้ว่าต้องยิงแอดให้ได้กี่เท่าของงบ ถึงจะไม่ขาดทุน
ตัวอย่างวิธีคำนวณ Break Even ROAS

สมมติว่าคุณขายสินค้าชิ้นหนึ่ง โดยมีต้นทุนทั้งหมดดังนี้:
- ต้นทุนสินค้าจริง: 2,000 บาท
- ค่าจัดส่ง: 120 บาท
- ค่าบรรจุภัณฑ์: 100 บาท
- ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (เช่น แอดมิน ระบบ ค่าธรรมเนียม): 280 บาท
รวมต้นทุนทั้งหมด = 2,500 บาท
และคุณขายสินค้าชิ้นนี้ในราคา 4,250 บาท
แปลว่า กำไรขั้นต้น (ก่อนหักค่าโฆษณา) = 1,750 บาท
ตอนนี้มาถึงจุดสำคัญ:
สูตร Break Even ROAS ที่ถูกต้องคือ
Break Even ROAS = ราคาขาย ÷ กำไรขั้นต้น
นำตัวเลขมาแทน:
Break Even ROAS = 4,250 ÷ 1,750 = 2.43
แปลว่าอะไร?
- ถ้าคุณยิงโฆษณาแล้วได้ ROAS ต่ำกว่า 2.43 คุณกำลังขาดทุน
- ถ้าได้เท่ากับ 2.43 แปลว่า “คืนทุน” พอดี
- และถ้าได้เกิน 2.43 — ส่วนที่เกินมา คือ “กำไรสุทธิ” ของคุณ
Break Even ROAS จึงเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้คุณรู้ว่า ต้องยิงให้ได้กี่เท่าของงบ ถึงจะไม่เจ็บตัว
หากคุณยังไม่แน่ใจว่าควรคำนวณ Break Even ROAS ยังไง
หรืออยากรู้ว่า “ธุรกิจของคุณ” ต้องได้ ROAS เท่าไหร่ถึงจะไม่ขาดทุน
ลองใช้โปรแกรมคำนวณด้านล่างนี้ได้เลยครับ แค่กรอกต้นทุนและราคาขาย ระบบจะช่วยคิดให้คุณเอง
โปรแกรมคำนวณ Break Even ROAS
เลือกดูตัวเลขให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ
Break Even ROAS คือจุดที่คุณ “แค่ไม่ขาดทุน” ถ้าทำโฆษณาแล้วได้เท่ากับตัวเลขนี้ หมายความว่าคุณพออยู่รอด
แต่ยังไม่เรียกว่ากำไร
ถ้าอยากให้แคมเปญทำเงินจริง ๆ ต้องได้ ROAS มากกว่าจุดนี้
ยิ่งสูงกว่านี้เท่าไหร่ กำไรก็จะเริ่มเห็นชัดขึ้นเท่านั้น
และถ้าคุณอยากมองภาพรวมทั้งธุรกิจ ไม่ใช่แค่แคมเปญโฆษณา
การเข้าใจเรื่อง ROI หรือผลตอบแทนจากการลงทุน จะช่วยให้คุณประเมินได้ครบกว่าว่าธุรกิจของคุณ “คุ้ม” จริงหรือเปล่า
หากคุณยังไม่มั่นใจว่าจะวางแผนทำโฆษณายังไงให้คุ้ม
ลองดูบริการ รับทำ Facebook Ads จากทีมที่เข้าใจตัวเลขพวกนี้จริง ๆ ก็เป็นอีกทางเลือกครับ
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
ROAS เน้นวัดเฉพาะ “รายได้จากโฆษณา” เทียบกับ “ค่าใช้จ่ายโฆษณา” เท่านั้น ส่วน ROI จะวัด “กำไรสุทธิ” เทียบกับต้นทุนทั้งหมดของธุรกิจ ไม่ใช่แค่แคมเปญโฆษณา
ถ้าอยากเข้าใจให้ชัด ลองดูบทความนี้ได้เลย:
ROI คืออะไร พร้อมโปรแกรมคำนวณ
อาจจะดูคุ้มในตอนแรก เพราะยอดขายเข้ามา
แต่ถ้าลูกค้าไม่กลับมาซื้อซ้ำ หรือไม่มี LTV (Lifetime Value) ธุรกิจก็จะโตยากมาก
เพราะคุณจะต้องพึ่งโฆษณาตลอด และต้นทุนยิงแอดก็แพงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี สุดท้ายอาจกลายเป็นว่า ยอดขายมาจริงแต่กำไรหายหมด
การหาวิธีให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ จึงเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่คุ้มค่าที่สุดในระยะยาว เพราะไม่ต้องจ่ายเพิ่มเพื่อได้ลูกค้าใหม่ทุกครั้ง
สินค้าราคาต่ำมักจะมีกำไรต่อชิ้นน้อย
ดังนั้นต้องได้ ROAS สูงกว่าปกติเพื่อให้มีกำไรพอ
ยิ่งต้นทุนโฆษณาเฉลี่ยต่อ 1 Conversion สูงเท่าไหร่ จุดคุ้มทุนก็ยิ่งไกล
ควรใช้วิธี Upsell หรือขายแบบเซ็ตเพื่อให้ยอดขายต่อออเดอร์ (AOV) สูงขึ้นแทน